ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วันที่ 11-12 ธันวาคม 2552 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



 
 
 
 



 



Date: Fri, 12 Jun 2009 18:02:45 +0700
Subject: แจ้งชื่อฯวันที่ 11-12 ธันวาคม 2552 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
From: 
To: davisakd.puaksom@gmail.com; history@chula.ac.th

ภาพหลอกหลอน ณ ชายแดนใต้ของไทย: การเขียนประวัติศาสตร์ปาตานีและโลกอิสลาม

ปิดรับพิจารณาบทคัดย่อ
การสัมมนาวิชาการนานาชาติ
"ภาพหลอกหลอน ณ ชายแดนใต้ของไทย: การเขียนประวัติศาสตร์ปาตานีและโลกอิสลาม"
 
11-12 ธันวาคม 2552
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 
โครงการภูมิภาคศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ, และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ใคร่เรียนเชิญส่งบทคัดย่อ สำหรับบทความนำเสนอในการสัมมนาทางวิชาการระดับนานาชาติเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ "ปาตานี"
 
นับตั้งแต่ปัญหาความรุนแรงระลอกใหม่ได้ปะทุขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้นับตั้งแต่ช่วงต้นปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา แวดวงวิชาการ สื่อสารมวลชน และรวมถึงรัฐบาล ได้มุ่งให้ความสนใจต่ออิทธิพลของศาสนาอิสลาม (โดยเฉพาะในมิติอุดมการณ์ทางการเมืองบนฐานของศาสนาอิสลาม) ที่มีต่อความขัดแย้งดังกล่าว  ภายใต้กระแสสนใจดังกล่าวนี้ สิ่งสำคัญหนึ่งที่ขาดหายไปในการถกเถียงอภิปรายในปัจจุบันต่อปัญหาความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย คือสำนึกทางประวัติศาสตร์ของกลุ่ม "ผู้ก่อการ" และผู้คนทั่วไปในพื้นที่ โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ชาตินิยมอันสัมพันธ์กับอดีตรัฐสุลต่านมลายูแห่งปาตานี ซึ่งมีอิทธิพลต่อการก่อรูปของสำนึกทางประวัติศาสตร์ดังกล่าว

เฉกเช่นคำอธิบายในงานเขียนชิ้นสำคัญของอิบรอฮิม ชุกรี เรื่อง Sejarah Kerajaan Patani Melayu (ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรมลายูปาตานี) ประวัติศาสตร์นิพนธ์ชาตินิยมมลายูปาตานีสร้างมุมมองต่อประวัติศาสตร์ปาตานีในมิติของการต่อสู้อย่างต่อเนื่องยาวนานเพื่อเป็นเอกราชจากรัฐสยาม บรรยายปาตานีในฐานะรัฐการค้าซึ่งทรงอำนาจ รุ่งเรือง และเป็นอิสระ รวมถึงเป็นศูนย์กลางสำคัญของความรู้และปวงปราชญ์อิสลามในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระทั่งต้องตกอยู่ภายใต้แอกของสยามในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 - ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 นับแต่นั้นเป็นต้นมา ปาตานีได้สืบสานการต่อสู้เพื่อเป็นอิสระจากการปกครองและความอยุติธรรมของสยาม ประวัติศาสตร์นิพนธ์ปาตานีภายใต้คำอธิบายดังกล่าว มีความคล้ายคลึงกับประวัติศาสตร์นิพนธ์แบบชาตินิยมในอดีตรัฐอาณานิคมอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากเพียงแต่เปลี่ยนศัตรูอันเป็นเป้าหมายแห่งการต่อสู้จากเจ้าอาณานิคมตะวันตกเป็นรัฐสยาม ขณะที่เรื่องราวก็ฉาบทาด้วยความขมขื่น และการโหยหาอดีตอันรุ่งเรืองและคงอิสรภาพ ทั้งนี้ คำอธิบายประวัติศาสตร์ปาตานีแบบดังกล่าว ตรงกันข้ามอย่างสุดขั้วกับประวัติศาสตร์ฉบับทางการของไทย ซึ่งอธิบายปาตานีในฐานะเมืองขึ้นหนึ่งของสยามนับตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์
เป้าหมายสำคัญของการสัมมนาฯ ครั้งนี้ คือเพื่อการนำเสนอและอภิปรายอย่างวิพากษ์วิจารณ์ต่อสำนึกและการเขียนประวัติศาสตร์มลายูปาตานี รวมถึงเพื่อการประเมินอิทธิพลและบทบาทของประวัติศาสตร์ต่อผู้คนและอุดมการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยปัจจุบัน

การสัมมนาฯ จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-12 ธันวาคม 2552 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะผู้จัดการสัมมนาฯ ใคร่ขอบคุณต่อการเผยแพร่รายละเอียดเกี่ยวกับการสัมมนาฯ ครั้งนี้ไปสู่ผู้ใส่ใจต่อปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นักวิจัย นักศึกษา นักวิชาการ ฯลฯ ทั้งนี้ รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสัมมนาฯ สามารถติดตามได้จากเว็บไซต์ www.patani-conference.net

รายละเอียดการส่งบทคัดย่อ (Abstract) เพื่อรับการพิจารณาการนำเสนอบทความ
            • เปิดรับบทคัดย่อ จนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2552
            • สามารถส่งบทคัดย่อเป็นภาษาไทย, มลายู (รูมี) หรืออังกฤษ
            • ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ
            • ส่งบทย่อ: davisakd.puaksom@gmail.com หรือ history@chula.ac.th
            • ประกาศผลการพิจารณาบทคัดย่อ ต้นเดือนมิถุนายน 2552
            • กำหนดส่งบทความ สำหรับผู้ที่ผ่านการพิจารณาบทคัดย่อ ถึงสิ้นเดือนตุลาคม 2552
            • บทความสามารถเขียนเป็นภาษาไทย, มลายู (รูมี) หรืออังกฤษ
            • การนำเสนอบทความในการสัมมนา นำเสนอเป็นภาษาไทย หรืออังกฤษ
คณะผู้จัดการสัมมนาฯ
 
 


แชตออนไลน์ทันใจกับเพื่อนและครอบครัวของคุณ! Windows Live Messenger

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก