การประชุมวิชาการ "ยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : ภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม"
Thu, 2009-09-03 12:32
Activity Date:
Sat, 2009-09-05 08:30 การประชุมวิชาการ "ยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น : ภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม"
วันเสาร์ที่ 5 กันยายน 2552 ณ ห้องศรีวรา โรงแรมทาวน์ อิน ทาวน์ กรุงเทพฯ
ประวัติศาสตร์กระแสหลัก (ประวัติศาสตร์รัฐชาติ) และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
การศึกษาประวัติศาสตร์ของไทยในปัจจุบันยังคงมุ่งเน้นเรื่องราวประวัติศาสตร์ของชาติไทยผ่านการศึกษาบทบาทของกษัตริย์และบุคคลสำคัญในการสร้างชาติ แตก ต่างจากประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ให้ความสำคัญกับความหลากหลายและตัวตนของคน ในท้องถิ่นและเรื่องราวของท้องถิ่น จึงนับเป็นจุดหักเลี้ยวที่สำคัญ และเป็นการเริ่มต้นของการยอมรับความหลากหลายของท้องถิ่นต่าง ๆ ที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นราชอาณาจักรไทย เป็นการทำให้ลูกหลานยุคปัจจุบันได้เริ่มเรียนรู้และเห็นความสำคัญของราก เหง้าเผ่าพันธุ์ที่ไปที่มาของเขา อันนำไปสู่การสร้างสำนึกของความผูกพันและรักท้องถิ่นแผ่นดินเกิด และเป็นการทำให้ทุกฝ่ายได้หันไปค้นหา "พลังของท้องถิ่น" ที่ เคยมีมาแต่เดิม ไม่ว่าจะเป็นความรู้ภูมิปัญญา ฐานทรัพยากร หรือสายใยความผูกพันของผู้คนที่จะเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นต่อไปใน อนาคต
กำหนดการ (อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)
08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน และรับประทานอาหารว่าง
09.00 – 09.45 น. พิธีเปิดการประชุม
· ชมวีดิทัศน์สารคดียุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
"จากยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น...สู่โรงเรียนทำหนัง"
· ชี้แจงที่มาโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและโรงเรียนทำหนัง โดย
ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย รองผู้อำนวยการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
· กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม โดย คุณฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร
เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
· กล่าวเปิดการประชุม และบรรยายพิเศษ "ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นกับภูมิคุ้มกัน
ทางวัฒนธรรม" โดย ธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
09.45 – 11.00 น. เสวนา "ตามรอยยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคกลาง : เรื่องเล่าเร้าอดีต"
· ตลาดเก่าเล่าอดีต โดย โรงเรียนสงวนหญิง จังหวัดสุพรรณบุรี
* คุณอุมาพร สีชมพู คุณธีวรา วิริยะชูศรี และคุณกมลวรรณ อรุโณทัย
· มูลค้างคาวของเขาช่องพราน โดย โรงเรียนช่องพรานวิทยา จังหวัดราชบุรี
* คุณอนุสรณ์ ต่วนเครือ คุณวาสนา ปั้นน่วม และอาจารย์นิตยา พลชำนิ
· ตำนานหุ่นกระบอก โดย โรงเรียนถาวรานุกูล จังหวัดสมุทรสงคราม
* คุณชัยยงค์ สมประสงค์ คุณลักคณา ปรชาศิลป์ และอาจารย์กรรณิการ์
แก้วอ่อน
ดำเนินรายการ โดย คุณแทนคุณ จิตต์อิสระ
11.00 – 12.30 น. เสวนา "เล่าอดีตขีดอนาคต...ยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น"
· ศาสตราจารย์ สุมน อมรวิวัฒน์ ราชบัณฑิต
· ศาสตราจารย์ ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรม
· คุณหญิง ดร.กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือผู้แทน
· รองศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ นักวิชาการประวัติศาสตร์
ดำเนินรายการ โดย ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย รองผู้อำนวยการ สกว.
12.30 – 13.30 น. พักอาหารกลางวัน
13.30 - 15.00 น. เสวนา "เรียนรู้คู่คมเลนส์ : มองประวัติศาสตร์ท้องถิ่นผ่านโรงเรียนทำหนังวัฒนธรรม"
ชมตัวอย่างหนังสารคดีประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจากแหล่งต่าง ๆ
· คุณฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
· คุณนิรมล เมธีสุวกุล ผู้บริหารบริษัทป่าใหญ่ครีเอชั่น จำกัด
· คุณพรรณี รุ่งสว่าง บรรณาธิการข่าวศิลปะวัฒนธรรม สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย
· คุณสรรชัย หนองตรุด ครูใหญ่โรงเรียนทำหนังวัฒนธรรม
· คุณอุสมาน เลาะมะอะ (โรงเรียนพัฒนาวิทยา จ.ยะลา)
ตัวแทนจากโครงการทำหนังสารคดียุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เรื่อง "สภากาแฟ"
· คุณพิชชาพร สิทธิโชค (โรงเรียนลำปางกัลยาณี จ.ลำปาง)
ตัวแทนจากโครงการทำหนังสารคดียุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
เรื่อง "ตามรอยคุ้มเจ้าหลวงลำปาง"
ดำเนินรายการ โดย ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ
15.00 – 15.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.30 – 17.00 น. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อหนุนเสริมและขยายผลยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
(แบ่งกลุ่มย่อย)
· นักเรียนกับการเรียนรู้กระบวนการวิจัยและการทำสารคดีประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
· คุณครูกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยการวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
· คุณครูกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยการวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
kb
http://www.baanjomyut.com/library/lotus
http://www.educationatclick.com
http://www.pwdom.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com/2009
http://www.twitter.com/kajorn
http://www.twitter.com/BKKFlashCamp
http://camp02.readyhomepage.com
http://www.twitter.com/sun1951
http://www.twitter.com/joomlacorner
http://sun1951.vaivaitraining.com
http://sun1951.wordpress.com
http://www.educationatclick.com/th/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น