ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วันที่ 15–17 สิงหาคม จะมีพิธีสวดพระอภิธรรมที่วัดเครือวัลย์ฯ (ฌาปนสถานทหารเรือ) ศาลา 1 ฝั่งธนบุรี

นายกรุณา กุศลาสัย  ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ เสียชีวิตแล้ว เมื่อประมาณเวลา 17.00 น.ของวันที่ 13 สิงหาคมที่ผ่านมา สิริอายุ 89 ปี โดยช่วงบ่ายวันนี้ (14สิงหาคม) มีพิธีจะมอบร่างเป็นอาจารย์ใหญ่ให้กับโรงพยาบาลศิริราช และระหว่างวันที่ 15–17 สิงหาคม จะมีพิธีสวดพระอภิธรรมที่วัดเครือวัลย์ฯ (ฌาปนสถานทหารเรือ) ศาลา 1 ฝั่งธนบุรี 

--
ประวัตินักเขียน ชื่อ : กรุณา กุศลาสัย
 
ประวัติย่อ
  

ท่านเกิดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2463 ณ ตำบลแควใหญ่ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ บิดาเป็นชาวจีนที่อพยพมาตั้งหลักแหล่งทำกินที่นครสวรรค์ตั้งแต่รุ่นปู่ จนมีฐานะร่ำรวยเป็นเจ้าสัว แต่ทว่าด้วยความบกพร่องของกระบวนการยุติธรรม บิดาถูกจับกุมเรื่องใช้ธนบัตรปลอม ซึ่งรับจากเจ้าของโรงสีที่ซื้อข้าวเปลือก บิดาต้องติดคุกและตายในคุก หลังจากติดคุกไม่นานมารดาก็ตายเพราะวัณโรค  กรุณาจึงต้องดิ้นรน ช่วยตนเองได้เรียนถึงมัธยมสาม เรียนดีจนสามารถข้ามชั้นเรียนแต่ไม่จบมัธยมสามเพราะทนการกดชี่ขูดรีดแรงงานจากนายจ้างไม่ไหว และอุบัติเหตุทำให้ของใช้นายจ้างเสียหารจึงถูกไล่ออกจากบ้าน

            ต่อมาได้บรรพชาเป็นสามเณร และจาริกสู่อินเดียโดยติดตามพระโลกนาถชาวอิตาเลียน โดยเดินเท้าผ่านพม่าสู่อินเดียเมื่อ พ.ศ.2476 ได้ศึกษาภาษาอินเดีย รับทุนภารตะวิทยา ที่มหาวิทยาลัยวิศวภารตี ศานตินิเกตัน ขณะศึกษาเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยประกาศสงครามกับฝ่ายพันธมิตรและอังกฤษปกครองอินเดีย ขณะนั้นคนไทยรวมทั้งกรุณาถือเป็นชนชาติศัตรูต้องถูกจำคุก ด้วยเหตุนี้จึงต้องลาสิกขากลับประเทศไทยเมื่อสงครามโลกสงบแล้ว ในพ.ศ.2489 หลังจากคืนสู่ไทยก็ใช้ความรู้สอนภาษาอินเดียและภาษาสันสกฤต สอนภาษาไทยแก่ชาวต่างชาติ  เมื่ออินเดียเป็นเอกราชและเปิดความสัมพันธ์กับไทย  จึงทำงานในกงสุลอินเดีย และต่อมาเป็นสถานเอกอัครราชทูตอินเดีย ภายหลังลาออกเพื่อทำงานหนังสือพิมพ์  ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในศิลปินแห่งชาติในปี 2546  

  

งานเขียนครั้งแรก 

- ผลงานของกรุณาส่วนใหญ่เป็นผลงานร่วมกันกับเรืองอุไร กุศลาสัย ภรรยา เช่น แปลพุทธจริต, คีตาชลีมหาภารตยุทธ์, เมฆทูต, และแปลงานสำคัญของคานธี, เนรูห์ และรพินทรนาถฐากูร

            - ผลงานหลายเล่มได้รับการคัดเลือกให้เป็น หนังสือประกอบและหนังสืออ่านนอกเวลา ทั้งในระดับมัธยมและอุดมศึกษา

 

ผลงานรวมเล่ม

  • คณะทูตใต้ดินสู่ปักกิ่ง : เสี้ยวหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย-จีน ๒๕๔๕
  • มหากาพย์พุทธจริต โดย มหากวีอัศวโฆษ ๒๕๔๔
  • วัฒนธรรมสัมพันธ์ ไทย-อินเดีย ๒๕๔๓
  • อินเดีย อนุทวีปที่น่าทึ่ง ๒๕๔๒
  • ท่านพุทธทาสในความทรงจำของผม : ข้อต่อสายโซ่ประวัติศาสตร์ของพุทธทาสและสวนโมกข์ ๒๕๔๒
  • ขอโทษที...เรื่องนี้ไม่มีนางเอก ๒๕๓๘
  • วาทะคานธี มหาบุรุษนักอหิงสา ๒๕๓๘
  • ภารตวิทยา : ความรู้เรื่องอินเดียทางวัฒนธรรม ๒๕๓๗
  • ประวัติและวาทะมหาตม คานธี แปล ๒๕๓๖
  • ข้อคิดจากคานธี แปล ๒๕๓๕
  • ข้าพเจ้าทดลองความจริง: อัตชีวประวัติ มหาตม คานธี แปล ๒๕๓๕
  • ข้อคิดคำคมของยวาหระลาล เนห์รู ๒๕๓๔
  • กุญแจสู่สุขภาพ โดย มหาตม คานธี งานแปล ๒๕๓๑
  • เมฆทูต โดย รัตนกวี กาลิทาส ๒๕๒๙
  • พระพุทธเจ้าในทัศนะสามรัตนบุรุษของอินเดีย ๒๕๒๙
  • ชีวิตที่เลือกไม่ได้ : อัตชีวประวัติของผู้เกิดในแผ่นดินไทยคนหนึ่ง ๒๕๒๙
  • อมตวาจา ของ มหาตม คานธี ๒๕๒๙
  • มหาภารตยุทธ ๒๕๒๕
  • โลกทั้งผองพี่น้องกัน โดย มหาตม คานธี ๒๕๒๓
  • เหมือนหนึ่งนกที่จากรัง : รวมเรื่องเอก โดย รพินทรนาถ ฐากูร ๒๕๒๒
  • แด่นักศึกษา ๒๕๒๑
  • พระพุทธศาสนาและโบราณคดีในทวีปเอเชีย ๒๕๑๖
  • พบถิ่นอินเดีย โดย ยวาหรลาล เนห์รู แปล ๒๕๑๕
  • คีตาญชลี โดย รพินทรนาถ ฐากูร ๒๕๑๓
  • ชีวประวัติของข้าพเจ้า โดย มหาตม คานธี แปลจากภาษาฮินดี ๒๕๑๓
  • ด้วยการสอนภาษาอินเดียและสันสกฤตแก่ครูอาจารย์ในสถาบันต่าง ๆ และสอนภาษาไทยแก่ชาวต่างประเทศที่อาศรมวัฒนธรรมไทย-ภารตะ

 งานที่ได้รับรางวัล  

            ได้รับเข็มและใบประกาศเกียรติคุณจากมหาจุลงกรณราชวิทยาลัยและได้รับรางวัลศรีบูรพา

 
ปัจจุบัน

            ใช้บันปลายชีวิตอย่างสงบที่บ้านสมุทรสงครามกับคู่ชีวิต อาจารย์ เรืองอุไร  กุศลาสัย 


      Weblink
http://ilaw.or.th
www.patani-conference.net
http://www.thaihof.org
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://elibrary.nfe.go.th
http://www.thaisara.com
http://www.rmutr.ac.th
http://www.bedo.or.th/default.aspx
http://weblogcamp2009.blogspot.com
http://seminarmon.blogspot.com
http://seminartue.blogspot.com
http://seminarwed.blogspot.com
http://seminarthu.blogspot.com
http://seminarfri.blogspot.com
http://seminar1951.blogspot.com
http://seminardd.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก