ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม 2552 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมประภาศน์ อวยชัย อาคารอเนกประสงค์ชั้น 4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่า-พระจันทร์)

“ศิลปะ ความงาม และความเมตตา” รำลึกครบรอบ 10 ปี วันอนิจกรรม ของ “อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์” ร้อยเรียงความหมายแห่งชีวิตด้วยความหวังและความจริง

Activity Date: 
Sat, 2009-08-29 13:00

ศิลปะ ความงาม และความเมตตา
รำลึกครบรอบ 10 ปี วันอนิจกรรม ของอ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์
ร้อยเรียงความหมายแห่งชีวิตด้วยความหวังและความจริง
 

ป๋วย อึ๊งภากรณ์ คือสามัญชนคนธรรมดาที่ยึดมั่นและ ต่อสู้เพื่ออุดมคติ ท่านเป็นสามัญชนที่สง่างาม มีความซื่อสัตย์สุจริตและความกล้าหาญทางจริยธรรมอย่างมาก ตลอดชีวิตของอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ นั้น ท่านได้พูดถึงความงาม ความดี ความถูกต้องมาตลอด เพราะท่านมีความศรัทธาอย่างแรงกล้าต่อสิ่งเหล่านี้ จะเห็นได้จากบางส่วนของจดหมายที่ท่านเขียน เนื่องในโอกาสวันครบปีการเปิดหอศิลป พีระศรี มีเนื้อความว่า

“ประชาคมใดที่เพิกเฉยต่อความงามและศิลปะ ประชาคมนั้นย่อมจะเจริญสมบูรณ์มิได้ และประชาคมใดที่เอาใจใส่บำรุงศิลปวิทยา ประชาคมนั้นย่อมจะประสบความเจริญ มิใช่แต่ในด้านศิลปะอย่างเดียว ย่อมจะเจริญในด้านความดี และความจริง อันเป็นองค์ประกอบแห่งสันติสุขแห่งมนุษย์ในประชาคม”

ด้วยเหตุดังกล่าว ป๋วยเสวนาคาร จึงได้ร่วมกับ สำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดกิจกรรมครบรอบการจากไปของอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ขึ้น หัวข้อ “ศิลปะกับความงาม และความเมตตา” ใน วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม 2552 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องประชุมประภาศน์ อวยชัย อาคารอเนกประสงค์ชั้น 4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่า-พระจันทร์)
 
ทั้งนี้ นิพนธ์ แจ่มดวง กรรมการป๋วยเสวนาคาร ได้บอกถึงเหตุและความสำคัญของการจัดงานครบรอบ 10 ปีแห่งการจากไปของอาจารย์ป๋วย ให้เข้าใจว่า

“ปีนี้อาจารย์ป๋วยได้จากพวกเราไปครบ 10 ปี และพระยาอนุมานราชธนเองก็มีวาระครบรอบ 120 ปีชาตกาลเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อเชื่อมโยงให้สังคมเห็นถึงคุณค่าของวัฒนธรรม ศิลปะ และความงาม ที่บุคคลทั้งสองท่านได้ทำมา นับแต่การที่ท่านเสฐียรโกเศศ ได้มอบลิขสิทธิ์ของท่านทั้งหมดในการก่อตั้ง มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป ให้มีจุดมุ่งหมายสำคัญในการอุดหนุนศิลปินที่ตกยาก และอาจารย์ป๋วยเอง ท่านก็ได้อุดหนุนศิลปินให้ได้มีผลงานด้านความงามกับสังคมมาตลอด เราจะเห็นได้จากการที่ท่านอุดหนุนภาพงานศิลปะของศิลปินต่าง ๆ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันเองที่ธนาคารแห่งประเทศไทยก็มีภาพของศิลปินเหล่านี้ตกแต่ง อยู่ ไม่ว่าจะเป็นภาพของ ท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ อ.เฟื้อ หริพิทักษ์ ฯลฯ”

“เรามีจุดมุ่งหมายเพื่อสานต่อแนวคิดด้านศิลปะ ความงาม และวัฒนธรรม ให้มีคุณค่าก่อเกิดงานที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้คนและศิลปินที่สร้าง สรรค์ผลงาน จึงได้เรียนเชิญ ศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ อดีตท่านผู้อำนวยการศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยคนแรกในกระทรวงวัฒนธรรม ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งถือได้ว่าเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์สูงทั้งด้านการสอน การค้นคว้าวิจัยงานศิลปะร่วมสมัย จนเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เขาเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ ที่สามารถเชื่อมโยง บูรณาการงานศิลปะ ศาสนา และวัฒนธรรมเข้าด้วยกันได้เป็นอย่างดี มาเป็นผู้แสดงปาฐกถาป๋วยเสวนาคาร ในหัวข้อ “ศิลปะกับความงาม และความเมตตา” นอกจากการแสดงปาฐกถาแล้ว ยังมีการแสดงดนตรีจากคนรุ่นใหม่ กลุ่ม hello minor ซึ่งเป็นดนตรีแจ๊สรุ่นใหม่ที่น่าจับตามอง รวมทั้งการอ่านบทกวี จาก อ.สกุล บุญยทัต ผู้มีหัวใจศรัทธาต่ออาจารย์ป๋วยอย่างมาก ปิดท้ายด้วยการกล่าวปิดจากปราชญ์สยามสามัญชนผู้ยึดมั่นความเป็นธรรมของ สังคมอย่าง ส.ศิวรักษ์”

ศิลปะ ความงามและความเมตตา จะร้อยเรียงความหมายแห่งชีวิตของ อ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ให้ปรากฏเป็นความจริงในวันนี้ได้อย่างไร มิติคุณค่าทางศิลปะ จะเกี่ยวข้องกับความงาม ความมีสุนทรียะ ความดีงามที่ไม่ต้องการผลตอบแทนมากกว่าความสนองตอบทางจิตใจได้อย่างไร ขอเชิญท่านที่สนใจเข้าร่วมแลกเปลี่ยนทัศนะความคิดในกิจกรรมดังกล่าวได้โดย ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-438-9331, 083-224-9867,086-012-9690 หรือ www.snf.or.th



--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.parent-youth.net
http://itceoclub.ning.com
http://www.presscouncil.or.th
http://ilaw.or.th
http://www.thaihof.org
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://elibrary.nfe.go.th
http://www.logex.kmutt.ac.th
http://www.thaisara.com
http://www.rmutr.ac.th
http://icann-ncuc.ning.com
http://www.webmaster.or.th
http://weblogcamp2009.blogspot.com
http://pwdhutch3.blogspot.com
http://energygreenhealth.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก