| | | | |
| | | | | | |
|
|
|
|
| | การบรรยาย l Lecture | | |
| | | | | | |
| | โดย | | By | | |
| | Doris Maninger อาจารย์และศิลปินเครื่องประดับ ผู้อำนวยการสถาบัน Alchimia เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี | | Doris Maninger, Lecturer and Jewelry Artist; Director Alchimia, Florence, Italy | | |
| | | | | | |
| | | | | | |
| | การบรรยายนี้จะกล่าวถึงเส้นทางอันหลากหลายในการพัฒนา งานเครื่องประดับในทวีปยุโรปตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 60 เป็นต้นมา และความพยายามที่จะเสาะหาคำจำกัดความหรือทิศทางใหม่ของ งานเครื่องประดับสำหรับอนาคต
Doris Maninger จะเล่าเรื่องราวของงานเครื่องประดับที่ สร้างสรรค์โดยศิลปินที่มีชื่อหลายคน โดยมุ่งเน้นไปที่ศิลปินชาว ยุโรปเป็นส่วนใหญ่ และเล่าเรื่องย้อนไปถึงประวัติการเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านแนวความคิดและการผลิตเกี่ยวกับงานเครื่องประดับใน ช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา
งานเครื่องประดับในยุโรปเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนใน ระหว่างปี 1940-1955 ในช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ความคิดและ ค่านิยมสมัยใหม่ (Modernist) เข้ามามีบทบาทในการสร้างงาน ฝีมือ งานศิลปะและงานออกแบบในหลายๆ สาขา ตั้งแต่นั้นมา แนวความคิดใหม่ๆ ในหลากหลายมิติได้ถูกนำมาใช้ในการ สร้างสรรค์ผลงานเครื่องประดับ ทำให้เกิดมุมมองใหม่อยู่อย่าง ต่อเนื่องในการสร้างงานศิลปะแขนงนี้จนถึงปัจจุบัน
คำถามก็คือ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทาง ความคิด และการผลิตในงานเครื่องประดับขึ้นได้อีกในศตวรรษ ที่ 21 นี้
สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือ ความหลากหลายของแนวคิดในวงการ เครื่องประดับที่เกิดขึ้นจากปัจจัยแวดล้อมในยุคหลังสมัยใหม่ (Postmodernism) นี้ มีการแข่งขันกันในด้านความคิด สร้างสรรค์ต่างๆ ผลที่ได้นั้นก็คือปรากฏการณ์ที่ไม่มีกระแส แนวคิดใดกระแสหนึ่งมีอิทธิพลเหนือแนวคิดอื่นๆ อย่างโดดเด่น ขึ้นมา
Doris Maninger จะนำเสนอกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับ เครื่องประดับร่วมสมัย ด้วยการวิเคราะห์ลงลึกถึงรากฐานและ การพัฒนาของเครื่องประดับร่วมสมัย โดยจะมุ่งความสนใจไปที่ เรื่องการศึกษา และสถานศึกษาที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนา กระบวนการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ | | The lecture presents the numerous ways in which jewelry has been developing in Europe since the 60's and some possible directions of jewelry for the future.
Doris Maninger discusses the work of important jewelry artists, mostly Western European, and traces the history of the changes in production and perception of jewelry the past decades.
Jewelry began to change between 1940 and 1955, when Modernist ideas and styles were incorporated into all the craft mediums. Since then, new ideas have been introduced into jewelry, changing the aspects of this art permanently, and forcing the abandonment of the outmoded arts and crafts style.
Could the same kind of transformation happen to jewelry in the twentieth-first century?
What we have now is pluralism. It is the postmodern condition in which ideas jostle and compete, but with no single discourse being dominated.
Doris Maninger describes the various movements in contemporary jewelry by analyzing their roots and development and focusing on the educational institutions that have fertilized and matured this development. | | |
| | | | | | |
| | | | | | |
| | ไม่เสียค่าใช้จ่าย สำรองที่นั่งได้ที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ TCDC โทร. 02 664 8448 ต่อ 213, 214 | | Free Admission Reserve your seat at TCDC Information Counter, Tel. 02 664 8448 ext. 213, 214. | | |
| | | | | | |
| | | | | | |
| | หมายเหตุ | | Remark | | |
| | -
กรุณาสำรองที่นั่งล่วงหน้าทางโทรศัพท์ -
เริ่มเปิดลงทะเบียนหน้างานก่อนงานเริ่ม 1 ชั่วโมง ผู้ที่สำรองที่นั่งล่วงหน้า โปรดมาลงทะเบียนยืนยันการ เข้าร่วมงานก่อนงานเริ่มอย่างน้อย 30 นาที
-
การบรรยายนี้เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจเรื่องเครื่องประดับ โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องประดับมาก่อน
-
บรรยายเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น | | -
Advance phone reservation is recommended. -
On-site registration opens one hour before the scheduled start time. For those who have made advance reservation, please register to confirm your seat at least 30 minutes before the event starts. -
Open to everyone interested in the topic of jewelry. Prior knowledge in jewelry is helpful but not required -
The lecture will be conducted in English only. | | |
| | | | | | |
| | สัมมนาเชิงปฏิบัติการ l Workshop | | |
| | | | | | |
| | โดย | | By | | |
| | -
Doris Maninger อาจารย์และศิลปินเครื่องประดับ ผู้อำนวยการสถาบัน Alchimia เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี -
Lucia Massei อาจารย์และศิลปินเครื่องประดับ ผู้อำนวยการสถาบัน Alchimia เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี -
ฤดี ตันเจริญ ผู้ช่วยอาจารย์และศิลปินเครื่องประดับ ศิษย์เก่าสถาบัน Alchimia เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี | | -
Doris Maninger, Lecturer and Jewelry Artist, Director Alchimia, Florence, Italy -
Lucia Massei, Lecturer and Jewelry Artist, Director Alchimia, Florence, Italy -
Rudee Tancharoen, Assistant Lecturer and Jewelry Artist, Alchimia Graduate | | |
| | | | | | |
| | | | | | |
| | โดยทั่วไปนั้นเครื่องประดับจะถูกมองว่าเป็นของที่มีค่า ทำให้เกิด การตั้งคำถามว่า คุณค่านั้นคืออะไร อะไรทำให้เกิดคุณค่าใน งานเครื่องประดับ หรือว่าคุณค่าของเครื่องประดับคือบทบาท เครื่องประดับต่อสังคม โดยเฉพาะคุณค่าที่ภายในเป็นแก่นแท้ ของสิ่งนั้นๆ สำหรับศิลปินผู้สร้างงานเครื่องประดับในปัจจุบันนี้นั้น คุณค่าของ เครื่องประดับไม่ได้ถูกผูกไว้กับมูลค่าของวัสดุที่นำมาใช้ในการ สร้างงานเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป การสัมมนาเชิงปฏิบัติการนี้จะเน้นการศึกษาทางด้านปรัชญา ควบคู่ไปกับการปฏิบัติ เพื่อเจาะลึกและเสาะแสวงหารูปแบบของ คุณค่าของเครื่องประดับ ผ่านการศึกษาวัสดุที่ไม่มีมูลค่าในเชิง เศรษฐกิจในการสร้างสรรค์งานเครื่องประดับ
การสัมมนานี้ต้องการที่จะท้าทายการใช้วัสดุและความเป็นไปได้ ในการที่จะถูกนำมาใช้ในการสร้างงานเครื่องประดับ รวมทั้ง ศึกษาวิเคราะห์เพื่อพิจารณาคุณค่าของเครื่องประดับว่าคุณค่า ของมันเหมาะสมกับสังคมปัจจุบันอย่างไร ผู้เข้าร่วมการสัมมนาจะต้องนำวัสดุอื่นๆ (ที่ปกติจะไม่ใช้ในการ ทำเครื่องประดับ)และชิ้นงานเครื่องประดับมาใช้ในการสนทนา พิจารณา และวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์ เพื่อที่จะได้ร่วมกันค้นหา ความหมาย และคุณสมบัติ(บทบาท)ที่สื่อถึงคุณค่าของเครื่อง ประดับ(โดยทั่วไป) และการนำความหมายและบทบาทนี้มาใช้กับ การออกแบบเครื่องประดับร่วมสมัย | | A piece of jewelry is commonly considered as something precious. What is preciousness? It means that something is held in great esteem for admirable qualities especially of an intrinsic nature.
In today's artist jewelry, this preciousness is not bound to the value of the material anymore but is still an important part of the work.
This workshop in theory and practice will search for the possible forms of preciousness in jewelry made out of materials without the economic value of gold and diamonds. We want to challenge the use of certain materials and their possibilities. How do we choose and judge jewelry and what can we say about its being precious for us today. The participants in the workshop will have to bring materials and jewelry for critique and discussion in order to collectively establish the possible meanings and inherent quality of this term and its appearance and use in contemporary jewelry. | | |
| | | | | | |
| | | | | | |
| | โปรดทราบ | | Important | | |
| | ผู้เข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการนี้ จะใช้เวลาที่ TCDC ใน การวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์ และการร่วมกันค้นหาความหมาย และคุณค่าของเครื่องประดับกับวิทยากรเป็นหลัก จะไม่มีการ สร้างเครื่องประดับในระหว่างการสัมมนา ผู้เข้าร่วมจะต้องกลับ ไปสร้างผลงานเครื่องประดับเองนอกเวลาสัมมนา เพื่อที่จะได้ นำงานที่ทำเสร็จแล้วนั้นมาเป็นหัวข้อในการสนทนาเกื่ยวกับ การกำหนดความหมายของคำว่าการทรงคุณค่าด้วยมุมมอง ของตนเองในวันสุดท้ายของการสัมมนา ดังนั้น ผู้ที่เข้าร่วมการ สัมมนาเชิงปฏิบัติการนี้จะต้องมีสตูดิโอและมีความรู้ที่สามารถ สร้างผลงานได้ด้วยตนเอง | | There will not be an opportunity to actually make jewelry pieces in the workshop, instead, there will be mini critic sessions and discussions on the topic of preciousness, etc. It is necessary that the participants bring their own works, pieces of jewelry and also non-precious materials they are interested to work with to the first part of the workshop so that materials brought can be used for critic and discussion. | | |
| | | | |
| | | | |
| |
| | | | |
| | ไม่เสียค่าใช้จ่าย สำรองที่นั่งได้ที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ TCDC โทร. 02 664 8448 ต่อ 213, 214 | | Free Admission Reserve your seat at TCDC Information Counter, Tel. 02 664 8448 ext. 213, 214. | | |
| | | | | | |
| | | | | | |
| | หมายเหตุ | | Remark | | |
| | -
การบรรยายนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับการทำ เครื่องประดับและสามารถทำงานที่สตูดิโอของตนเอง -
เปิดรับไม่เกิน 20 ท่าน กรุณาสำรองที่นั่งล่วงหน้า ทางโทรศัพท์ -
เริ่มเปิดลงทะเบียนหน้างานก่อนงานเริ่ม 1 ชั่วโมง ผู้ที่สำรองที่นั่งล่วงหน้าไว้แล้ว โปรดมาลงทะเบียนยืนยัน การเข้าร่วมงานก่อนงานเริ่มอย่างน้อย 30 นาที -
ดำเนินการสัมมนาเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น
| | -
Prior knowledge in jewelry making and ability to work at your own studio is required. -
Maximum 20 participants. Advance phone reservation is required. -
On-site registration opens one hour before the scheduled start time. Please register to confirm your seat at least 30 minutes before the event starts. -
Conducted in English only. | | |
| | | | |
| | | | |
| | จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบและถนิม Organized by TCDC and Tanim | | |
| |
| | |
|
| | | | |
| | DISCLAIMER TCDC สงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า TCDC reserves the right to make any changes without prior notice
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ชั้น 6 ดิเอ็มโพเรียม ช็อปปิ้ง คอมเพล็กซ์ 622 สุขุมวิท 24 กรุงเทพฯ 10110 เวลาทำการ อังคาร - อาทิตย์ (ปิดวันจันทร์) 10.30 - 21.00 น. โทร. (66) 2 664 8448 แฟ็กซ์. (66) 2 664 8458
Thailand Creative & Design Center (TCDC) 6th Fl., The Emporium Shopping Complex, 622 Sukhumvit 24, Bangkok 10110, Thailand Opening hours Tuesday - Sunday (Closed on Monday) 10.30 a.m. - 9.00 p.m. Tel. (66) 2 664 8448 Fax. (66) 2 664 8458 www.tcdc.or.th | | |
| | | | |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น